วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการของกฎหมาย

วิวัฒนาการของกฎหมาย


            การศึกษา วิวัฒนาการหรือประวัติศาสตร์ของกฎหมาย จะช่วยให้เราเข้าใจกฎหมายได้ดีขึ้นเพราะในการบัญญัติกฎหมาย ผู้บัญญัติกฎหมายย่อมบัญญัติขึ้นเพื่อแก้ไขสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพื่อส่งเสริมสิ่งใดสิ่งหนึ่งถ้าได้มีการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายด้วยความตั้งใจจริงแล้ว ก็จะเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ออกใช้บังคับในสมัยนั้นๆ ดีว่ามีวัตถุประสงค์อย่างไร
            นอกจากนี้ประเทศไทยของเราได้รับอิทธิพลของระบบกฎหมายต่อประเทศอย่างมาก มีการนำเอาหลักกฎหมายต่างประเทศหลายลักษณะมาใช้ในกฎหมายไทย เราจึงควรศึกษาถึงวิวัฒนาการของกฎหมายต่างประเทศด้วยเพราะจะเป็นแนวทางให้เราทราบถึงที่มาและเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อหาแนวทางที่จะศึกษาและใช้กฎหมายได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

วิวัฒนาการของกฎหมายไทย

            กฎหมายไทยได้รับอิทธิพลมาจากพระธรรมศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายของอินเดียโบราณ และมีวิวัฒนาการตามลำดับดังนี้
            1) กฎหมายสมัยกรุงสุโขทัย
            จากหลักฐานที่ค้นพบในหลักศิลาจารึกทำให้ทราบว่า ในสมัยกรุงสุโขทัยมีกฎหมายที่ใช้อยู่หลายลักษณะ เช่น กฎหมายลักษณะโจร กฎหมายปกครองว่าด้วยการยื่นเรื่องราวร้องทุกข์กฎหมายลักษณะทรัพย์และที่ดิน กฎหมายเกี่ยวกับมรดกและกฎหมายวิธีพิจารณาความ ฯลฯ เป็นต้น
            ในช่วงเวลาที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของไทยภาคกลางนั้น ทางลานนาไทยได้เริ่มสร้างอาณาจักรและตั้งเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีประมาณ พ.. 1835 มีการปกครองเป็นอิสระของตนเอง มีพระเจ้ามังรายเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรลานนาไทยกฎหมายที่ใช้ปกครองคือมังรายศาสตร์ ในมังรายศาสตร์นี้ปรากฏข้อความที่กล่าวถึงพระธรรมศาสตร์ เช่นเดียวกับข้อความในศิลาจารึก สาเหตุที่เรียกว่ามังรายศาสตร์ ก็คือเป็นเพราะพระเจ้ามังราย ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรลานนาไทยได้ทรงโปรดให้จารึกกฎหมายที่ได้อิทธิพลมาจากพระธรรมศาสตร์รวมกับแนววินิจฉัยของพระองค์ มังรายศาสตร์จึงเป็นกฎหมายที่รวบรวมบทบัญญัติต่างๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญา และมีการกำหนดโทษไว้ด้วย เช่น ในทางอาญามีกฎหมายลักษณะวิวาท กฎหมายลักษณะใส่ความ กฎหมายลักษณะลักพากฎหมายลักษณะซ่อน อำและลัก ในทางแพ่งเช่นกฎหมายลักษณะหมั้น กฎหมายลักษณะสมรส กฎหมายลักษณะหย่า กฎหมายลักษณะมรดก กฎหมายลักษณะหนี้เป็นต้น
            2) กฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยา
            กฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยามีลักษณะดังนี้
                        (1) คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาไทยเราได้นำเอาหลักพระธรรมศาสตร์มาจากมอญ พระธรรมศาสตร์นี้ถือว่าเป็นประกาศิตจากสวรรค์ซึ่งแสดงถึงสัจธรรมและความเป็นธรรม จึงมีความศักดิ์สิทธิและเป็นอมตะ โดยระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและเอกชนมุ่งสร้างบรรทัดฐานแก่ผู้ปกครองที่จะนำไปใช้ในการปกครองพลเมือง
                        (2) พระราชศาสตร์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายไทยโบราณ ซึ่งได้แก่พระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีของพระมหากษัตริย์ทั้งหลาย ซึ่งเกิดมีขึ้นและสะสมกันต่อๆ มามีจำนวนมากขึ้นเป็นอันมาก โดยหลักการว่าจำต้องสอดคล้องกับพระธรรมศาตร์ด้วยสำหรับเนื้อหาของพระราชศาสตร์นั้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกฎเกณฑ์แห่งการปฏิบัติราชการกฎมณเทียรบาล กฎเกณฑ์เรื่องที่ดินและสถานภาพบุคคลในสังคม
                        (3) กฎหมายอื่นๆ ที่พระเจ้าแผ่นดินตราขึ้นใช้บังคับ กฎหมายซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตราขึ้นเพื่อใช้บังคับ เช่น กฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์ กฎหมายเหล่านี้เรียกชื่อรวมๆ กันว่า พระราชกำหนดบทพระอัยการ หรือพระราชกำหนดกฎหมาย
            3) กฎหมายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระกฎหมาย เพื่อแก้ไขความคลาดเคลื่อนและความไม่ยุติธรรมที่มีอยู่ในกฎหมายเก่ากฎหมายที่ได้ชำระสะสางนี้เรียกว่า กฎหมายตราสามดวงที่เรียกเช่นนี้เพราะมีประทับตรา คชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว ซึ่งเป็นตราของสมุหนายก สมุหกลาโหมและโกษาธิบดี ต่อมากลายเป็นตราของกระทรวงมหาดไทย กลาโหมและต่างประเทศตามลำดับ กฎหมายตราสามดวงที่ได้ตรวจชำระใหม่นี้ประกอบด้วยพระธรรมศาสตร์พระราชศาสตร์ นอกจากนี้ยังบรรจุพระราชกำหนดบทพระอัยการไว้ด้วย
            ภายหลังจากที่มีการตรากฎหมายตราสามดวงแล้ว กฎหมายอื่นที่ตราขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 คือ พระราชบัญญัติบ่อนเบี้ย
            ต่อมารัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ พระองค์ได้ทรงปฎิรูปศาลและจัดระบบกฎหมาไทยเสียใหม่ รวมทั้งได้ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.. 2440 ประกอบด้วยนักกฎหมายชายไทยและที่ปรึกษาชาวต่างประเทศ คระกรรมการได้ดำเนินการร่างกฎหมายที่สำคัญๆ โดยการนำเอาหลักการมาจากนานาอารยะประเทศ เช่น กฎหมายลักษณะอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ฯลฯ ทำให้ประเทศไทยสามารถมีตัวบทกฎหมายและระบบกฎหมายที่ทันสมัยทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศ และทำให้ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายยินยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและข้อเสียเปรียบทางกฎหมายและศาลให้แก่ประเทศไทยในที่สุด

วิวัฒนาการของกฎหมายต่างประเทศ

            ระบบกฎหมายที่ใช้อยู่ในโลกปัจจุบันนี้มีที่นิยมใช้อยู่ 4 ระบบใหญ่ๆ คือ
1)      ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ (Civil Law)
2)      ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law)
3)      ระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law)
4)      ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม (Religious and Traditional Law)

1) ระบบกฎหมายซีวิล  ลอว์ (Civil Law)
ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ ได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายโรมัน โดยมีนักปราชญ์บางท่านแบ่งระบบการปกครองของอาณาจักรโรมัน ออกเป็น 3 ยุค คือ
(1)   ยุคกษัตริย์ (Monarchy) อยู่ระหว่าง 753 –510 ก่อนคริสต์ศักราช
(2)   ยุคสาธารณรัฐ (Republic) อยู่ระหว่าง 510 – 27 ก่อนคริสต์ศักราช
(3)   ยุคจักรวรรดิ์ (Empire) อยู่ระหว่าง ค.. 27 – .. 563
(1) ยุคกษัตริย์ (Monarchy) เริ่มตั้งแต่มีการสร้างกรุงโรมในปี 753 ก่อนคริสต์ศักราชในยุคนี้กฎหมายมาจากกษัตริย์เรียกว่า Lex หรือ Leges แต่มีหลักฐานที่จะให้ความรู้ทางกฎหมายแก่เราน้อยมาก
(2) ยุคสาธารณรัฐ (Republic) อยู่ในปี 510 ก่อนคริสต์ศักราช มีผู้ปกครองหรือประมุขเรียกว่า Consul ในยุคนี้กฎหมายเริ่มพัฒนา มีการบัญญัติกฎหมายสำคัญที่มีชื่อเสียง คือ กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of the Twelve Tables) ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร
            แรงผลักดันให้มีการบัญญัติกฎหมายสิบสองโต๊ะเกิดจากปัญหาความขัดแย้งระหว่าง ชน 2 ฝ่าย คือ Patricians และ Plcbcians
            Patricians เป็นชนชั้นสูง ได้แก่ พวกผู้ปกครองและข้าราชการชั้นสูง
            Plebeians เป็นชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้าวานิช รวมทั้งเชลยศึก คนต่างด้าว และทาสด้วย
            ในการออกกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายหรือการชี้ขาดตัดสินคดีเป็นอำนาจของพวก Patricians ทั้งสิ้น ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่พวก Plebeian ซึ่งไม่ใคร่จะมีโอกาสได้ทราบว่ากฎหมายที่ใช้มีอยู่อย่างไรได้มีการเรียกร้องให้นำกฎหมายเหล่านั้นมาเขียนให้ปรากฎเป็นลายลักษณ์อักษร จนในราว 450 ปีก่อนคริสต์ศักราช จึงได้ทำการรวบรวมจารีตประเพณี ที่ใช้เป็นกฎหมายอยู่ในขณะนั้นบันทึกลงบนแผ่นไม้ 12 แผ่น ตั้งไว้ในที่สาธารณะใจกลางเมือง เป็นการเริ่มต้นของวิชานิติศาสตร์ด้วยหลักการที่ว่ากฎหมายควรเป็นสิ่งที่เปิดเผยให้คนทั่วไปได้รู้เห็นและศึกษาหาเหตุผลได้
(3) ยุคจักรวรรดิ์ (Empire) ยุคนี้เป็นยุคที่กฎหมายโรมันบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรและบัญญัติขึ้นโดยจักรพรรดิ์โรมัน จักรพรรดิ์จัสติเนียน (Justinian) ได้ทรงโปรดให้มีการรวบรวมเอาจารีตประเพณีของพวกโรมันที่มีการร่างเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมารวบรวมไว้เป็นเล่ม ซึ่งเราเรียกว่าประมวลกฎหมายจัสติเนียน หรือเรียกเป็นภาษาลาตินว่า Corpus Juris Civilis

            2) ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law)
            ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ มีกำเนิดและวิวัฒนาการมาจากประเทศอังกฤษประวัติศาสตร์ของประเทศอังกฤษเดิมเรียกว่า บริเทน” (Britain) ซึ่งเคยถูกปกครองโดยอาณาจักรโรมันมาก่อน เมื่ออาณาจักรโรมันเสื่อมอำนาจลงได้มีชนเผ่าต่างๆ เชื้อสายเยอรมันเข้ามาครอบครองประเทศอังกฤษ ที่สำคัญมีอยู่ 2 เผ่า คือ เผ่าแองเจลส์ (Angles) และเผ่าแซกซ่อน (Saxon) ภายหลังเรียกรวมกันว่า แอลโกลแซกซ่อน (Anglo Saxon) กฎหมายในยุคแองโกลแซกซ่อนเป็นกฎหมายเก่าและไม่เป็นที่รู้จักกันดีเท่าใดนัก ส่วนใหญ่เป็นจารีตประเพณีดั้งเดิมของเผ่าต่างๆ และได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรนับตั้งแต่อังกฤษได้ยอมรับนับถือคริสต์ศาสนาในราวปี ค.. 596 กฎหมายแองโกลแซกซ่อนเป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์และขอบเขตของความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคมซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของสังคมอังกฤษจากยุคของเผ่าต่างๆ เข้าสู่ยุคศักดินา (Feudal) โดยกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นยังคงใช้บังคับเฉพาะแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีในศาลนั้นมีการพิจารณาคดีโดยการสาบาน (Oat) การทรมาน (Ordeal) และการต่อสู้ (Battle)
            ต่อมาในปี ค.. 1966 พวกเยอรมัน (Normans) ซึ่งเป็นชนเชื้อสายชาวสแกนดิเนเวียนอยู่ทางตอนเหนือของยุโรป ภายหลังได้มาครอบครองมณฑลนอร์มังดีทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ได้ยกกองทัพเข้ายึดเกาะอังกฤษได้ การยึดครองของพวกนอร์มันมิได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎหมายแต่อย่างใด กฎหมายที่ใช้อยู่จึงยังคงมีลักษณะเป็นจารีตประเพณีของชนเผ่าต่างๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งมีอยู่หลายเผ่าพันธุ์หลายเชื้อชาติพวกนอร์มันได้เริ่มนำเอาระบบศักดินา (Feudal) หรือระบบการถือครองที่ดินมาใช้ มีการแบ่งชั้นวรรณะในระหว่างพลเมืองและพวกขุนนางหรือผู้ครอบแคว้นมีอำนาจในการถือครองที่ดินแทนกษัตริย์ตลอดจนได้รับมอบหมายให้มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้น
            กฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law) เป็นกฎหมายที่วิวัฒนาการมาจากการจัดตั้งศาลพระมหากษัตริย์หรือศาลหลวง (King’s Court) ขึ้น โดยมีการคัดเลือกผู้พิพากษาที่มีความรู้ความสามารถจากส่วนกลางหมุนเวียนออกไปพิจารณาคดีในศาลท้องถิ่นทั่วทุกแคว้น มีการพิจารณาคดีโดยใช้ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) แทนการพิจารณาคดีแบบเดิมในระยะต้นๆ มีปัญหาขัดแย้งในการพิพากษาคดีมากเพราะแต่ละแคว้นก็มีจารีตประเพณีเป็นของตนเอง การใช้กฎหมายบังคับจึงต้องใช้กฎหมายจารีตประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ในระยะต่อมาความขัดแย้งเหล่านี้ ค่อยๆ หมดไปเกิดเป็นจารีตประเพณีที่ถือเป็นหลักเกณฑ์และข้อบังคับที่มีลักษณะเป็นสามัญ (Common) และใช้กันทั่วไปในศาลดังกล่าวข้างต้น ด้วยเหตุนี้กฎหมายคอมมอน ลอว์จึงเริ่มเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ นับแต่นั้นเป็นต้นมา
            เนื่องจากจารีตประเพณีที่ใช้บังคับมิได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ศาลจึงเป็นผู้ที่นำจารีตประเพณีมาใช้และพิจารณาพิพากษาคดีโดยอาศัยประเพณีดังกล่าว คำพิพากษาของศาลได้มีการบันทึกเอาไว้เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้ผู้พิพากษาคนต่างๆ มาใช้เป็นแบบอย่าง (Precedent) กล่าวคือ เมื่อศาลใดได้วินิจฉัยปัญหาใดไว้ครั้งหนึ่งแล้วศาลต่อๆ มาซึ่งพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งมีข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกันย่อมต้องผูกพันในอันที่จะต้องพิพากษาตามคำพิพากษาก่อนๆ ซึ่งถือเป็นแบบอย่างนั้นด้วยคำพิพากษาของศาลจึงมีลักษณะเป็นกฎหมายอย่างหนึ่ง
            แม้ว่าศาลจะนำกฎหมายคอมมอน ลอว์ มาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีเพื่อให้เป็นระเบียบเดียวกันทั่วประเทศแล้วก็ตามแต่กฎหมายคอมมอน ลอว์ ก็ยังมีช่องว่างและไม่สามารถให้ความยุติธรรมได้ทุกเรื่อง ในบางกรณีที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญา การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีละเมิดหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ไม่อาจจะนำกฎหมายคอมมอน ลอว์ มาใช้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมได้ จึงมีการพัฒนาเอาหลักความยุติธรรม (Equity) มาใช้บังคับคู่กับกฎหมายคอมมอน ลอว์
            การพิจารณาคดีของศาลในศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา จึงได้ใช้กฎหมายคอมมอน ลอว์ คู่กับหลักความยุติธรรม กล่าวคือ ถ้าศาลเห็นว่าใช้กฎหมายคอมมอน ลอว์ แล้วจะไม่เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความแล้วศาลย่อมมีอำนาจที่จะนำเอาหลักความยุติธรรมมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีได้
            ครั้นต่อมาเมื่อรัฐสภาอังกฤษมีอำนาจมากขึ้น ได้มีการตรากฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statutory Law) ขึ้นใช้บังคับอย่างแพร่หลาย กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ถือว่าเป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องและเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายคอมมอน ลอว์ ซึ่งเป็นหลักทั่วไประบบคอมมอน ลอว์ ปัจจุบันมีที่ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศที่เคยอยู่ในเครือจักรภพ เป็นต้น
            3) ระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law)
            ระบบกฎหมายสังคมนิยมเกิดขึ้นหลังจากการปฏิวัติครั้งใหญ่ในประเทศรัสเซีย เมื่อปี ค.. 1917 (.. 2466) ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศรัสเซียมีกฎหมายจัดอยู่ในระบบกฎหมายซีวิล ลอว์แต่หลังจากการปฏิวัติและพรรคคอมมิวนิสต์ได้เข้าครองอำนาจการบริหารประเทศแล้ว ระบบกฎหมายของประเทศรัศเซียก็ได้เปลี่ยนโฉมหน้าไปกฎหมายของประเทศรัสเซียในยุคหลังการปฏิวัตินี้ แม้จะมีรูปแบบเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแต่โดยเนื้อหาสาระของตัวบทกฎหมายก็ดี ล้วนแต่นำเอาหลักการใหม่ตามแนวความคิดของมาร์กซ์และเลนินมาใช้ทั้งสิ้นหลักการนี้เชื่อว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบและกลไกต่างๆ ของสังคม เพื่อให้เกิดความทัดเทียมกันในสังคมและเพื่อคุ้มครองคนในสังคมให้พ้นจากการกดขี่ข่มเหงของนายทุน กฎหมายจะมีความจำเป็นเพียงชั่วขณะหนึ่งเมื่อสังคมเข้าสู่ระบบคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์ปราศจากความเหลื่อมล้ำทางฐานะ ปราศจากชนชั้นโดยประชาชนเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งมวลร่วมกันแล้ว กฎหมายจะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปแต่เมื่อยังไม่ถึงจุดนี้ความจำเป็นของกฎหมายจะยังคงมีอยู่
            ลักษณะของกฎหมายในระบบกฎหมายสังคมนิยมมีดังนี้
            (1) กฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่สำคัญที่สุดในประเทศสังคมนิยม ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมีอำนาจในการออกกฎหมายลายลักษณ์อักษร ทั้งที่เป็นกฎหมายแม่บทและกฎหมายในลำดับรองทั้งปวง กฎหมายลายลักษณ์อักษรมักจะใช้ถ้อยคำที่สามารถแปลความหมายหรือตีความได้อย่างกว้างขวางและปล่อยทิ้งปัญหาต่างๆ ให้อยู่ในดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ดังนั้นกฎหมายลายลักษณ์อักษรกับหลักปฏิบัติในการปกครองจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
            (2) จารีตประเพณี มีบทบาทในการเป็นเครื่องมือช่วยในการตีความกฎหมายและอุดช่องว่างของกฎหมายในกรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งอย่างไรก็ดีจารีตประเพณีที่นำมาใช้ได้นั้นก็เป็นเพียงส่วนน้อยเพราะตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรมักเขียนไว้กว้างๆ ประกอบกับศาลก็มีดุลพินิจในการตีความกฎหมายได้อย่างกว้างขวางอยู่แล้ว
            (3) หลักการและแนวความคิดของมาร์กซ์และเลนิน หลักการและแนวความคิดของมาร์กซ์และเลนิน ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของการปกครองในระบบสังคมนิยม แนวความคิดและหลักการเหล่านี้ศาลหรือผู้พิพากษามักจะกล่าวอ้างอิงถึงข้อเขียนหรือแนวความคิดของมาร์กซ์และเลนินมาประกอบคำตัดสินเสมอ
            เป็นที่น่าสังเกตว่า คำพิพากษาของศาลในประเทศสังคมนิยม แม้จะไม่ถือว่าเป็นที่มาของกฎหมายโดยตรง แต่ก็มีความสำคัญในแง่ที่เป็นแนวปฏิบัติของศาลที่ควรจะต้องคำนึงถึง ซึ่งแนวความคิดนี้ก็เป็นแนวความคิดเช่นเดียวกับในระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ โดยทั่วไปนั่นเอง
            ในปัจจุบันระบบกฎหมายสังคมนิยมมีใช้อยู่ในประเทศรัสเซีย คิวบา เกาหลีเหนือ ลาว เวียตนาม กัมพูชา จีน และประเทศสังคมนิยมในยุโรปตะวันออก เช่น รูมาเนีย บัลแกเรีย ฮังการี ฯลฯ เป็นต้น
            (4) ระบบกฎหมายศาสนาประเพณีนิยม (Religious and Traditional Law) ศาสนามีอิทธิพลต่อการร่างกฎหมายของหลายประเทศ มีกลุ่มประเทศจำนวนไม่น้อยที่เอาศาสนาไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายจนวิวัฒนาการกลายเป็นกฎหมายศาสนาขึ้นกฎหมายศาสนาที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลมากในปัจจุบันคือ  กฎหมายศาสนาอิสลาม กฎหมายศาสนาคริสต์และกฎหมายศาสนาฮินดู เป็นต้น
            กฎหมายศาสนาอิสลามวิวัฒนาการมาจากหลักคำสอนและหลักปฏิบัติในศาสนาอิสลามซึ่งได้แก่ (1) คัมภีร์โกหร่าน (Koran) หรืออัล-กุรอ่าน ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม
            (2) ซุนนะห์ (Sunna) การปฏิบัติของศาสนา
            (3) อิจมา (Idjma) หลักกฎหมายที่นักปราชญ์ของอิสลามมีมติเอกฉันท์ให้นำมาใช้ในกรณีไม่มีบทบัญญัติในคัมภีร์โกหร่านและซุนนุห์
            (4) อัลอุ้รฟ หรือจารีตประเพณีที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งคัมภีร์โกหร่าน ซุนนะห์หรือิจมา
            (5) กิย้าส (Qiyas) การใช้กฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับในกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรง
            กฎหมายศาสนาอิสลามมีแหล่งกำเนิดในนครเมกกะ (Mecca) เมื่อประมาณ 1,300 ปีเศษล่วงมาแล้วเป็นกฎหมายที่สอนให้ชาวมุสลิมมีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว คือ พระอัลเลาะฮ์ทรงเป็นผู้สร้างโลกมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งปวง โดยมีพระนบีมูฮัมมัดเป็นศาสดาเผยแพร่ศาสนาอิสลาม กฎหมายศาสนาอิสลามเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า สังคมและครอบครัว เช่น กฎหมายครอบครัว กฎหมายมรดก กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความ แต่ส่วนที่เป็นกฎหมายอิสลามที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ กฎหมายครอบครัวและมรดก ส่วนกฎหมายอื่นๆ ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายของประเทศในซีกโลกตะวันตก
            ปัจจุบันกฎหมายศาสนาอิสลามมีอิทธิพลแพร่หลายไปเกือบทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนตะวันออกกลาง เช่นประเทศอียิปต์ ซาอุดิอารเบีย ซีเรีย อิหร่าน อิรัค ฯลฯ เป็นต้น แม้ในประเทศไทยกฎหมายศาสนาอิสลามก็ยังใช้บังคับอยู่ในดินแดน 4 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คือ จังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในจังหวัดดังกล่าวนี้กฎหมายเปิดช่องให้ศาลหยิบยกกฎหมายศาสนาอิสลามในเรื่องครอบครัวและมรดกมาใช้บังคับในบางกรณี
            นอกจากกฎหมายศาสนาอิสลามแล้ว ก็ยังมีกฎหมายศาสนาคริสต์ ซึ่งมีกำเนิดมาจากคำสอนของศาสนาคริสต์และคำสอนของพระสันตะปาปาหลังจากที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ไปแล้วประมาณ 500 ปี การก่อตั้งศูนย์รวมอำนาจของศาสนาจักรของพระสันตะปาปาขึ้นที่นครวาตินกันและความศรัทธาที่ชาวยุโรปมีต่อศาสนาคริสต์ทำให้ศาสนาคริสต์เจริญรุ่งเรืองมากพระสันตะปาปามีอำนาจครอบคลุมทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักร ศาสนาคริสต์และสมณโองการของพระสันตะปาปาได้กลายมาเป็นกฎหมายศาสนาคริสต์ (Canon law) ใช้บังคับแก่คริสต์ศาสนิกชน หากใครฝ่าฝืนก็จะได้รับโทษ
            แต่หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ศาสนาคริสต์และกฎหมายศาสนาคริสต์ เริ่มเสื่อมอำนาจลง ฝ่ายอาณาจักรได้แยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อศาสนาจักร ศาสนาคริสต์มีการแตกแยกออกเป็นหลายนิกาย เนื่องจากมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เช่น นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์ นิกายออร์ธอดอกซ์นิกายเซิร์ท ออฟ อิงแลนด์ ฯลฯ
            ในปัจจุบันศาสนาคริสต์มิได้มีอิทธิพลเาไปเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายของประเทศที่นับถือคริสต์ศาสนาเหมือนดังเช่นกฎหมายศาสนาอิสลาม หากเป็นแต่เพียงแนวความคิดที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการร่างกฎหมายของประเทศที่นับถือคริสต์ศาสนาเช่นข้อกำหนดห้ามหย่า การห้ามคุมกำเนิดและห้ามทำแท้ง และการห้ามสมรสซ้อน (Bigamy) เป็นต้น
            นอกจากศาสนาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็ยังมีศาสนาฮินดู ซึ่งมีอิทธิพลแพร่หลายอยู่ในประเทศอินเดีย และบางประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นประเทศไทยก็เคยได้รับอิทธิพลทางด้านกฎหมายมาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ เป็นต้น
            ส่วนประเพณีนิยม (Tradition) ซึ่งหมายถึงหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมตลอดจนจรรยามารยาทต่างๆ ก็มีส่วนสำคัญในการร่างกฎหมายของประเทศต่างๆ ได้เช่นเดียวกันประเพณีนิยมที่สำคัญได้แก่ ประเพณีนิยมของนักปราชญ์ชาวจีนที่มีชื่อเสียงเช่น ขงจื้อ ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายที่ใช้ในชีวิติประจำวันของชาวจีนก่อนการปฏิวัติ หรือประเพณีโบราณในลัทธิชินโตของญี่ปุ่นก็มีอิทธิพลต่อการจัดทำกฎหมายของญี่ปุ่นเช่นกัน
            การใช้ประเพณีเป็นกฎหมายในปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นอยู่บ้างในบางเผ่าในแอฟริกา เช่น ชาวเอธิโอเปีย โซมาลิแลนด์ ซูดาน เป็นต้น

โครงเรื่อง การสอน การพาดหัวข่าว และการเขียนข่าว

โครงเรื่อง การสอน  การพาดหัวข่าว และการเขียนข่าว


1.การแนะนำ/เกริ่นนำเรื่อง พาดหัวข่าว
-          คำจำกัดความ
-          รูปแบบ
พาดหัวข่าวเต็มหน้า
หัวรอง
พาดหัวเริ่มเรื่อง หรือ “KICKER”
หัวข่าวต่อ
หัวข่าวแบบวางเสมอซ้ายแล้วทิ้ง (FLUSH LEFT)
พาดหัวข่าวแบบวางฐานเจดีย์
พาดหัวหลายเด็ด (หลายบรรทัด)
หัวตอน
-          หน้าที่
ดึงดูดความสนใจ
จัดลำดับความสำคัญของข่าว
ให้เท็จจริง หรือ แจ้งข่าว
ขายเรื่อง
ช่วยจัดหน้าหนังสือพิมพ์
บอกตำแหน่งข่าวในหน้าต่อ
2. การพาดหัวข่าว / มุมมอง / วิธีการ / แนวคิด ในการทำงานจริง
            พาดหัวข่าวเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียนข่าว
            การพาดหัวข่าวเริ่มจากการวางแผนข่าว
ตัวอย่าง / คำอธิบายของ การพาดหัวข่าวที่เป็นขั้นตอนสุดท้าย และการวางแผนข่าว / ใคร คือ ผู้ที่พาดหัวข่าว / ทำไมต้องเป็นคนนี้ (มีรายละเอียดแนบมาด้วย)
การพาดหัวข่าวในชีวิตประจำวัน / ใน บทสนทนา ( ชี้ให้เห็นว่าจริง ๆ แล้วการพาดหัวข่าวซึ่งก็ คือ การนำประเด็นหรือ เรื่อง  หรือข้อความที่สำคัญที่สุดมากล่าวมา หรือพูดถึงในอันดับแรกเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันอยู่แล้วเพียงแต่ไม่ค่อยมีใครรู้ว่านั่น คือ หลักการเดียวกับการพาดหัวข่าว )
ตัวอย่างและให้ น..ที่ร่วมในการสอนมีส่วนร่วมในหัวข้อการพาดหัวข่าวในชีวิตประจำวัน  โดยยกตัวอย่างในเรื่องใกล้ ๆ ตัว
วิธีการฝึกพาดหัวข่าวโดยไม่จำเป็นต้องทำข่าว เขียนข่าว หรือใช้อุปกรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น
เวิร์กอป เรื่องการประชุมข่าว วางแผนข่าว กำหนดประเด็นข่าว เพื่อจะนำไปสู่การพาดหัวข่าวที่ดี
บันไดก่อน 3 ขั้นก่อนที่จะไปถึงการพาดหัวข่าว (แจกเนื้อหาข่าว (1) ให้ น.. สรุปประเด็นให้ได้แล้วนำมาเขียนโปรย (2) คัดเลือกประเด็นจากโปรยมาพาดหัวข่าว (3)
3. การพาดหัวข่าว
            ต้องรู้ว่ามีเนื้อที่เท่าไร (DUMMY)
            ใช้ตัวอักษรกี่ตัว
            สรุปประเด็นเขียนให้เป็นประโยค
            ดัดแปลงจากประโยคให้เป็นภาษาพาดหัวโดยใช้จำนวนตัวอักษรตามเนื้อที่กำหนด
ต้องใช้ทักษะการใช้ภาษาไทยอย่างสูง เช่น ละประธาน / ละกรรรม / ใช้คำที่มีความหมาย / รุนแรง /มีสีสัน / มีอารมณ์ขัน
ประเด็นที่หยิบมาพาดหัวต้องมีอยู่ในข่าว และมีรายละเอียดเพียงพอ
ต้องระวังเรื่องหมิ่นประมาท หรือ หมิ่นเหม่ต่อจรรยาบรรณ และจริยธรรมของสื่อ
ห้ามใช้คำไม่สุภาพ
ไม่ใส่ความเห็นแต่ตีความได้โดยอยู่พื้นฐานของข้อเท็จจริง และจริยธรรม
ทั้งนี้ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง

หลีกเลี่ยงการใช้คำพาดหัวข่าวที่ซ้ำกับข่าวอื่น ในหน้าเดียวกัน

                ต้องมีคำกริยา หรือคำอื่นที่แสดงการกระทำอยู่ด้วยเสมอ

พาดหัวข่าวแบบ ตะโกน
4. คุณสมบัติของผู้ที่จะพาดหัวข่าวได้ดี
            ละเอียดอ่อน
            จับประเด็นข่าวได้ดี
            รอบรู้
เป็น นายของภาษา
มีอารมณ์ขัน
มีวิจารณญาณ และวุฒิภาวะ
ละเอียดถี่ถ้วน
5. ฝึกการพาดหัวข่าว จากเนื้อข่าวจริง / ดัมมี่จริง / ใช้ตัวอักษรตามที่กำหนด โดยให้ น.. ทุกคนที่ร่วมฟังหารือ และแลกเปลี่ยนความเห็นกันเอง (มีเนื้อข่าวให้ 3 – 4 ข่าว ให้
.. ประชุมคัดเลือกว่า ข่าวไหนจะเป็นข่าวใหญ่ที่สุด และข่าวที่มีความสำคัญรองลงมา เสร็จแล้วให้อ่านข่าวแล้ว ใช้หลักการ และความรู้ตั้งแต่ต้น มาพาดหัวข่าว ให้ได้ประเด็นสำคัญ ดึงดูดความสนใจและใช้ตัวอักษรตามที่กำหนด

6. สรุปปัญหา / จุดอ่อน ที่ต้องแก้ไขในการพาดหัวข่าว จากการฝึกปฏิบัติจริง พร้อมทั้งแนะนำการแก้ไข
การผลิตชุดการเรียนการสอน ในหัวข้อการพาดหัวข่าว และการเขียนข่าว จะเน้นในเรื่องการให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในทุกหัวข้อ ทุกขั้นตอนโดยประยุกต์มาจากหลักวิชาการอีกทั้ง จะใช้การสอนแบบวิธีธรรมชาติ ไม่ยึดติดหรือไม่มีหลักวิชาการมาเกี่ยวข้อง แต่ชี้ให้เห็นว่า วิธีการแบบนี้ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังจะเป็นไปตามหลักวิชาการ
            ในการผลิตจำเป็นต้องใช้นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจากอาจารย์ผู้สอนแล้วว่าเป็นนักศึกษาที่กล้าแสดงออก มีความสนใจในวิชาชีพ สื่อสารมวลชนด้านข่าวเพียงพอ มีบุคลิกภาพที่ดี มีมุมมองและกล้าแสดงความคิดเห็น จำนวนราว 20 – 30 คน
            ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ นักศึกษาที่ได้เรียนรู้จากการสื่อสารชุดนี้จะเข้าใจ และมีความรู้ในการทำข่าวทั้งกระบวนการตั้งแต่การทำข่าว การคิดประเด็นข่าว การเขียนข่าวไปจนถึง การพาดหัวข่าว ซึ่งทั้งหมดนั้นเกี่ยวเนื่องกันอย่างยิ่งยากที่จะแยกเฉพาะส่วนใด ส่วนหนึ่งออกจากกัน จนอาจกล่าวได้ว่า ใครก็ตามที่วางแผนข่าว เขียนข่าว สรุปประเด็นข่าวได้ดี ก็ย่อมจะพาดหัวข่าวได้ดีด้วย เนื่องเพราะในการทำงานจริง การพาดหัวข่าวไม่ใช่แค่การอ่านข่าวแล้ว สรุปประเด็นนำมาพาดหัวข่าวเท่านั้น แต่ต้องประกอบไปด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว เพียงแต่ว่าผู้ปฏิบัติงานจริงทำเช่นนั้น เป็นประจำจนคิดว่าเป็นเรื่องปกติ จึงไม่ได้แยกแยะออกมาว่าก่อนจะพาดหัวข่าวต้องทำอะไรบ้าง
            หากมีใครไปถาม บ.. ข่าวหน้า 1 จากหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ว่าการพาดหัวข่าว คือ อะไร ต้องทำอย่างไรบ้าง ก็คงไม่พ้นที่จะได้รับคำตอบว่า สรุปประเด็นข่าวที่สำคัญที่สุดให้เป็นข้อความและตัวอักษรที่มีขนาด และจำนวนตามที่กำหนด  ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้นหากแต่ไม่ทุกข่าวที่ทำเช่นนั้น และวิธีการดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นการพาดหัวข่าวที่ดีที่สุด ถือเป็นเพียง การพาดหัวข่าวแบบตามกระแส ตามปกติเท่านั้น
การพาดหัวข่าว ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของบรรณาธิการข่าว  และเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำหนังสือในส่วนของเนื้อหา ก่อนที่จะนำเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต
เป็นที่น่าสังเกตว่า ทำไมการพาดหัวข่าว ถึงเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการเขียนข่าว ในเมื่อหลักการเขียนข่าว ใช้หลักการลำดับความสำคัญ เป็นส่วนใหญ่ และนักข่าวจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะเขียน ความนำหรือ โปรยหรือ ลีด  ก่อนที่จะดำเนินเรื่องต่อไปในส่วนของ ส่วนเชื่อม  หรือ เน็ค  ตามมาด้วย เนื้อเรื่อง เมื่อเป็นเช่นนี้ทำไม ไม่เขียนพาดหัวข่าว ก่อนแล้วจึงเขียนตามมา
ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ การทำงานในกองบรรณาธิการซึ่งประกอบไปด้วย ผู้สื่อข่าวจำนวนมาก ข่าวบางข่าวที่มาจากนักข่าวเพียงคนเดียวจะไม่สมบูรณ์ ถ้ามีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับข่าวสายอื่น ๆ จำเป็นต้องมรการหาข้อมูลจากนักข่าวจากสายข่าวอื่น ๆ เช่น ข่าวที่นายกรัฐมนตรีสั่งให้ศึกษาตามความเหมาะสม ในการเปิดบ่อนการพนันโดยถูก กฎหมาย ข่าวชิ้นนี้จะมาจากนักข่าวการเมืองสายทำเนียบรัฐบาล รายละเอียดของข่าวจะมีมากพอสมควร แต่เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมานานในสังคมไทย จึงต้องมีความเห็นจากส่วนต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น จากนักวิชาการ นักการเมืองที่ไม่เห็นด้วย มาเพิ่มเติม
จากตัวอย่างข้างต้น การพาดหัวข่าวเริ่มต้นที่การเขียนข่าว ข่าวที่นักข่าวสายทำเนียบรัฐบาล จะต้องพาดหัวว่า นายกฯ สั่งเคลียร์บ่อนเสรีหรือ บ่อนเสรีใกล้งวด ทักษิณทำโพลล์
แต่ถ้าหากมีข่าวจาก นักข่าวสายสังคม ที่สอบถามความเห็นนักวิชาการ นักสังคมวิทยา หรือองค์กรเอกชน  มีประเด็นว่า บุคคลเหล่านี้ไม่เห็นด้วยกับ แนวความคิดของนายกฯ ประเด็นที่หยิบยกมาพาดหัวข่าว ก็อาจจะเป็น รุมค้านบ่อนเสรี นักวิชาการเดือด 
อย่างไรก็ตามที่สุดแล้ว ข่าวนี้ก็อาจจะพาดหัวข่าวในประเด็นของนายกฯ ก็ได้  หากไม่มีประเด็นข่าวอื่น ๆ สำคัญกว่า  และในข้อเท็จจริงก็เป็นเช่นนั้น เนื่องจากว่าเป้นครั้งแรกที่ข้อถกเถียงเรื่องบ่อนกำลังจะได้ข้อยุติ และนายกรัฐมนตรีคนนี้ก็เป็นนายกฯ คนแรกที่ตัดสินใจหาวิธียุติปัญหาที่เรื้อรังมานาน
จากตัวอย่างที่ยกมา คงจะเห็นแล้วว่า ทำไมการพาดหัวข่าว คือ ผู้ที่ไปทำข่าวมา แล้วก็เป็นคนเขียนข่าวด้วย อาจจะผ่านการ เขียนใหม่หรือที่เรียกกันว่า รีไรท์บ้าง แต่ส่วนใหญ่เนื้อหาก็ไม่ได้เปลี่ยนไปสักเท่าไร
ที่เป็นเช่นนั้นก็เป็นเพราะว่า    การพาดหัวข่าว คือ การดึงประเด็นที่สำคัญที่สุดของข่าวออกมา    แน่ละประเด็นที่ดึงออกมา   ต้องสำคัญที่สุดจริง ๆ ไม่เพียงเท่านั้น      ยังต้องเป็นประเด็นที่ต้อง
ดึงดูดความสนใจจากผู้อ่านอย่างยิ่ง       เพราะฉะนั้น การพาดหัวข่าวจึงต้องใช้ทั้งทักษะการใช้ภาษา

ประสบการณ์ในการทำข่าว  จินตนาการ การตีความ ทั้งหมดนั้นยังต้องพิจารณา อย่างถี่ถ้วนในแง่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา ทั้งการที่หนังสือพิมพ์จะถูกวิพากษ์วิจารณ์  การถูกฟ้องร้องหากเป็นถ้อยคำที่หมิ่นประมาท


อย่าลืมว่า หัวข่าวเป็นส่วนที่มีพลังมากที่สุด มากพอที่จะส่งผลให้เกิดสิ่งต่าง   ตามมามากมาย จนบางครั้งผู้ที่พาดหัวเองอาจคาดไม่ถึง
            เมื่อเป็นเช่นนี้ การพาดหัวข่าวจึงจำเป็นที่จะต้องทำโดย บรรณาธิการข่าว หรือ หัวหน้าข่าว ซึ่งตามปกติจะเป็นบรรณาธิการข่าวหน้า 1 หรือ หัวหน้าข่าวหน้า 1
          ทีนี้เรามาดูกันว่า  หัวหน้าข่าวหน้า 1 หรือ บรรณาธิการข่าวหน้า 1 เขาทำงานกันอย่างไร

          ขั้นตอนแรกของการพาดหัวข่าว ก็คือการ วางแผนข่าว   ซึ่งกอง บ.. จะประชุมร่วมกันระหว่างโต๊ะข่าวต่าง ๆ  เพื่อกำหนดทิศทางในการทำข่าวแต่ละวัน ซึ่งจะประชุมกันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเช้า  และช่วงหัวค่ำซึ่งเป็นช่วงที่ข่าวจากแหล่งต่าง ๆ จะหลั่งไหลเข้ามา
          การประชุมในช่วงเช้าจะกำหนดคร่าว ๆ ว่าในวันนั้น ๆ จะมีข่าวอะไรบ้าง และจะแจกจ่ายงานให้นักข่าวสายไหนตามในประเด็นไหน
          เช่น ณ วันนั้นเป็นวันตัดสินคดีที่ นพ.วิสุทธิ์ ถูกกล่าวหาว่า ฆ่าหั่นศพ ภรรยาตัวเอง หัวหน้าข่าวหน้า 1 ก็จะมีแผนอยู่ในใจแล้วว่า จะต้องมีข่าวนี้อยู่ในหน้า 1 แน่นอน  และคิดต่อไปว่าจะพาดหัวข่าวนี้ในประเด็นไหน ด้วยถ้อยคำอย่างไร ถึงแม้ว่าในขณะนั้น ผลการตัดสินยังไม่ปรากฏ
          หลังจากนั้นในการประชุมข่าวช่วงหัวค่ำ หรือ อาจมีในช่วงบ่ายจะเป็นการพิจารณาคัดเลือกว่าจะมีข่าวหน้า 1 และจะเป็นข่าวอะไรบ้างข่าวไหนจะเป็นข่าวใหญ่ที่สุด ที่เรียกกันว่าข่าวลีดหรือ  ข่าวนำข่าวไหนจะสำคัญรองลงมา รวมทั้งคัดเลือกภาพที่จะอยู่ในหน้า 1 ด้วย
          ขั้นตอนนี้อาจจะทำให้มีคำถามว่า การพาดหัวข่าวที่บอกว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียนข่าว แล้วทำไมถึงบอกว่ามีการพาดหัวข่าวในการประชุมข่าว
          ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าการพาดหัวข่าวนั้นต้องมีการวางแผนตระเตรียมข้อมูล และประเด็นที่จะดึงออกมาจากข่าว ไม่ใช่แค่รอรับข้อมูลจากนักขาวที่นักข่าวทำมาอย่างเดียว การทำแบบนี้จะทำให้ได้ประเด็นข่าวที่ดี น่าสนใจ ซึ่งจะส่งผลต่อการพาดหัวข่าวได้ดี และน่าสนใจตามมาด้วย
          สรุปก็คือ การพาดหัวข่าวยังคงทำในขั้นตอนสุดท้ายอยู่ดีเพราะต้องพิจารณาว่าประเด็นข่าวที่ได้มานั้นเป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่
          มาถึงตอนนี้อาจจะงง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น  มาดูตัวอย่างการทำงาน  ทำนองนี้กันดีกว่า
          ในวันที่ศาลพิพากษาคดี น..วิสุทธิ์ ฆ่าหั่นศพ พ..ผัสพร บ..ข่าวหน้า 1คิดคำพาดหัวข่าวเอาไว้ในใจแล้วว่า หากศาลตัดสินลงโทษไม่ว่าจะหนักหรือเบา หรือ ยกฟ้องล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นที่จะหยิบยกมาพาดหัวข่าวได้ทั้งสิ้น แต่นั่นยังไม่เพียงพอ บ..ข่าวหน้า 1 จะต้องคิดประเด็นที่จะเพิ่มเติม เพื่อให้พาดหัวข่าวของตัวเองโดดเด่นกว่าของหนังสือพิมพ์อื่น ๆ เพราะฉะนั้นจึงต้องสั่งให้นักข่าวติตาม พ่อของ พ..ผัสพร ที่ต่อสู้คดีนี้ว่าจะมีความรู้สึกอย่างไรต่อผลการตัดสินซึ่งต้องระวังในการนำเสนอ เพราะอาจเข้าข่ายวิจารณ์คำตัดสินของศาลซึ่งถือว่า เป็นการหมิ่นศาล มีโทษถึงขั้นจำคุก
          ในที่สุดศาลตัดสินประหารชีวิต น..วิสุทธิ์ และพ่อของ พ..ผัสพร ก็ให้สัมภาษณ์ว่า พอใจในคำตัดสินของศาล บ..ข่าวหน้า 1 ก็ได้ประเด็นที่จะมาพาดหัวข่าวอย่างที่คิดเอาไว้
          เรื่องนี้อาจจะไม่ซับซ้อนเท่าใด เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่อยู่ในความสนใจจะฉีกประเด็นออกไปอย่างไร ก็ยังน่าสนใจสู่ประเด็นหลักซึ่งก็คือ ศาลตัดสินประหารชีวิต น..วิสุทธิ์ไปได้ กระนั้นก็ตาม บ..ข่าวหน้า 1 ก็ยังต้องพยายามหาประเดนข่าวที่จะมาอยู่ในพาดหัวข่าวมากขึ้น
          แต่เรื่องนี้ซับซ้อนมากกว่า
          2 ปีก่อน มีข่าวงูเผือกให้หวยแม่นอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เนื้อหาที่เป็นข่าวมาตลอดก็คือ มีชาวบ้านไปกราบไหว้งูเผือก และเจ้าของจะคอยบอกกับผู้ที่ไปกราบไหว้ว่าเจ้าแม่งูเผือก มาเข้าฝันบอกบอกหวยเลขอะไร เมื่อคืนที่ผ่านมา คนก็แห่ไปซื้อหวยแล้วก็ร่ำลือกันว่า แม่นนักแม่นหนา หนังสือพิมพ์หลายฉบับนำเสนอในประเด็นนี้ มีผู้อ่านส่วนหนึ่งสนใจ แต่อีกไม่น้อยที่มองว่าเป็นเรื่องงมงาย
          .. ข่าวของ น...ฉบับหนึ่งมาคิดว่า ข่าวนี้เป็นที่สนใจของผู้อ่านไม่น้อย และมีประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนอยู่ กล่าวคือ มีแต่ข่าวว่าเจ้าแม่งูเผือกให้หวย มีชาวบ้านแห่ไปกราบไหว้ หากจะนำเสนอก็จะไม่มีประเด็นไหนไปพาดข่าวที่น่าสนใจ นอกจากประเด็นนี้ พาดหัวข่าวที่ได้ก็คงจะหนีไม่พ้น ชาวบ้านแห่ขอหวย เจ้าแม่งูเผือก
          หรือ  ถ้าจะให้งมงายน้อยลงหน่อย     ก็อาจจะมีประเด็นความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลาน มาอธิบายว่า  งูเผือกเป็นปรากฏการณ์ปกติของสัตว์ประเภทนี้ เพราะนั้น การนำข่าวนี้มานำเสนอ พาดหัวข่าวถือว่าไม่ดึงดูด ความสนใจเท่าไร ที่สำคัญข่าวนี้ก็นำเสนอไปแล้วเกือบ 2 เดือน
          ในเมื่อยังมีประเด็นที่ไม่ชัดเจน หน้าที่ของหนังสือพิมพ์ก็ต้องทำให้ชัดเจน และประเด็นที่ชัดเจนนี่แหละ จะนำพาไปสู่พาดหัวข่าวที่ดี น่าสนใจ โดดเด่น
          จงตระหนักว่า พากหัวข่าวจะดีไม่ได้ถ้าข่าวไม่มีประเด็นที่ดี และการทำข่าวแบบตั้งรับรอดึงประเด็นสำคัญมาพาดหัวข่าวเดียว จะไม่สามารถพาดหัวข่าวได้ดีเท่าการทำข่าวเชิงรุก วางแผนข่าว กำหนดประเด็นที่เฉียบคม
          การติดตามเพื่อสร้างความชัดเจนในข่าวนี้จึงเริ่มขึ้นด้วยการส่งนักข่าว ไปที่บ้านของเจ้าของงูเผือก ในช่วงวันก่อนหวยออกซึ่งจะมีชาวบ้านหลายคนไป กราบไหว้เพื่อขอหวย นักข่าวคนนี้ทำทีเป็นคนบ้าหวย ไปกราบไหว้ขอหวย พร้อมทั้งสอบถามกับชาวบ้านที่นั่นว่า งวดที่แล้วมาขอหวยที่นี่หรือไม่ ได้เลขอะไร และถูกบ้างหรือเปล่า คำตอบที่ได้ก็คือ มีชาบ้าน 20 คน บอกว่ามาขอหวยเมื่องวดที่แล้ว ได้เลขต่าง ๆกันไปแล้วแต่ ภรรยาของเจ้าของจะบอกในวันไหน แถมน้องชายของภรรยาเจ้าของก็มาบอกอีกคน ทำให้เลขที่ได้หลากหลาย
          และในจำนวน 20 คนนี้ ถูกหวยแค่ 2 คน ยิ่งไปกว่านั้นน้องชายภรรยาเจ้าของงูเผือกยังบอกว่า ตนเองไปซื้อเลขที่อ้างว่า เจ้าแม่งูเผือกมาเข้าฝันเหมือนกันแต่ไม่ถูก
          ยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีก กล่าวคือ ผู้สื่อข่าวที่ไปทำข่าวนี้ในคราบของคนบ้าหวยยัง พบว่า เจ้าของงูเผือกกำลังเดินทางไปรับร่างทรงรายใหม่ มาแทนร่างทรงเก่า เพราะว่า ร่างทรงเก่าผลงานไม่ดี ให้หวยไม่ถูก
          เมื่อข่าวเป็นอย่างนี้ พาดหัวข่าวนี้จึงออกมาว่า งูเผือกชักมั่ว ให้หวยผิดอื้อ
          ทำไมถึงต้องวางแผน ติดตามประเด็นข่าว อย่างเจาะลึกถี่ถ้วน ก่อนที่จะพาดหัวข่าว
          คำตอบ ก็คือ เพราะการพาดหัวข่าวจะต้องใช้ประเด็นข่าว ที่มีอยู่ในข่าวเท่านั้น ใครก็ตามย่อมไม่สามารถพาดหัวข่าวตามใจตัวเอง โดยที่ไม่มีเนื้อหานั้น ๆ ในข่าวได้ เพราะหากฝืนกระทำเช่นนั้น จะเป็นการทำลาย ความน่าเชื่อถือของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นอย่างรุนแรง
          อย่าว่าแต่เอาประเด็นที่ไม่มีในข่าวพาดหัวเลย แค่ประเด็นที่ดึงดูดความสนใจได้อย่างดี แต่มีอยู่ในข่าวแค่นิดเดียว ก็ถือว่าเสียหายมากแล้ว เราเพราะจะถูกมองว่ามุ่งแต่จะขายข่าว เอาเรื่องเล็กน้อยมาพาดหัว
มาถึงขั้นนี้แล้วเป็นอันชัดเจนว่า การพาดหัวข่าวที่ดีต้องมาจากข่าวที่ดี และข่าวที่ดีก็ต้องมาจากการวางแผนข่าวที่ดี
แต่แค่นี้ยังไม่พอหรอกสำหรับการพาดหัวข่าว

ใคร ๆ ก็รู้ว่า พาดหัวข่าวคือ การดึงเอาประเด็นสำคัญที่สุดในข่าวนั้นออกมาใส่ไว้ในตำแหน่งที่เป็นจุดเด่นเห็นได้ชัด ปัญหามีอยู่ว่าตรงไหน ประเด็นไหนที่สำคัญ  และดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้ดีที่สุด
ประเด็นที่สำคัญที่สุดของ บ..ข่าวหน้า 1 แต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน แม้จะถูกดึงมาจากข่าวเช่นเดียวกัน แน่ละข่าวที่ว่านี้หมายถึง ข่าวที่ผ่านการวางแผน คิดค้นประเด็นก็ได้

ข่าวงูเผือกเป็นตัวอย่างที่ดีของประเด็นข่าวที่สามารถคัดเลือกมาพาดหัวข่าวได้หลายประเด็น
ให้หวยไม่แม่น 20 คนถูกแค่ 2 คน
ขนาดคนใกล้ชิดที่มาเข้าฝันยังถูกกิน
ร่างทรงเดิมไม่เวิร์คต้องเปลี่ยน

อีกข่างหนึ่งที่เป็นตัวอย่าง (โพลล์ดูเร็กซ์)

หลักการ หรือวิธีการพาดหัวข่าวในตำราด้านวารสารศาสตร์นั้น ระบุไว้หลายประเด็นในที่นี้จะสรุป จากการทำงานจริงว่า ทำอย่างไรหรือต้องใช้ทักษะอะไรบ้าง จึงพาดหัวข่าวได้ดี
นอกเหนือจากจะต้อง สรุปประเด็นสำคัญให้ได้ ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของคนที่จะมาเป็น บ..ข่าวหน้า 1 แล้ว คนที่จะพาดหัวข่าวได้ดีจะต้องเป็นผู้ที่ใช้ภาษาไทยได้ดี เนื่องจากการพาดหัวข่าวจะต้องใช้ถ้อยคำที่กระชับอย่างยิ่ง และไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ว่าคำที่ใช้จะมีความยาวเท่าไร ขึ้นอยู่กับเนื้อที่ที่ กำหนดไว้ในการวางหน้า (ดัมมี่) เพราะฉะนั้น ภาษาที่ใช้จึงอาจต้องมีการละประธาน ละกรรม
การพาดหัวข่าวที่ดีนั้น ในแต่ละบรรทัดไม่ว่าจะสั้นหรือยาวแค่ไหน ควรจะเป็นประโยค ไม่ใช่วลี และในบรรทัดนั้นจะต้องเป็นประโยคที่จบในตัว  ไม่ใช่พาดหัวข่าว 2 หรือ 3 บรรทัด มาต่อกันเป็น 1 ประโยค ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าเป็นการเขียนประโยคขึ้นมาประโยคหนึ่ง แล้วตัดประโยคนั้นให้มีความยาวเท่ากับเนื้อหาที่ที่มีอยู่